18 เมษายน 2562


คอลัมน์กวนน้ำให้ใส - อย่าทิ้งชาวสวนปาล์ม

คอลัมน์กวนน้ำให้ใส - อย่าทิ้งชาวสวนปาล์ม

1. รัฐมนตรีชุติมา ได้เคยแสดงความคิดเห็นเรื่องปัญหาราคาปาล์มน้ำมันไว้น่าสนใจ บางตอนว่า

“...ปีที่ผ่านมา ราคาปาล์มตกต่ำหนัก เนื่องจากมาเลย์เซียและอินโดนีเซียที่เดิมเคยส่งปาล์มไปขายยุโรปได้ แต่ปีที่ผ่านมา ปาล์มจากทั้งสองประเทศติดปัญหาว่า การปลูกปาล์มทำลายป่า ทำให้ไม่สามารถส่งปาล์มไปขายยังยุโรปได้ ส่งผลให้สต๊อกในตลาดโลกล้นและราคาตกต่ำ รัฐบาลได้ด้าเนินมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนมาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา โดยกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงพลังงานได้รับมอบให้จัดหาน้ามันปาล์มดิบ 160,000 ตัน ส่งให้โรงไฟฟ้าบางประกง ใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า แต่ในการขนส่งปาล์มทางเรือ มีผู้ขนส่งน้อยราย ทำให้เกิดการยกประเด็นว่าอาจมีไอ้โม่งได้รับผลประโยชน์ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ระวังไม่ให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น โดยได้วางระบบตรวจสอบอย่างโปร่งใส เพื่อป้องกันไม่ให้มีการหาประโยชน์โดยมิชอบ และเพื่อให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์สูงสุด

ขอย้ำว่า กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับนโยบายขับเคลื่อนการทำงานด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม รวมทั้งมีการรณรงค์เรื่อง Zero Corruption อย่างจริงจังต่อเนื่อง และมอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดถือปฏิบัติและดำเนินการอย่างเคร่งครัด จึงขอให้มั่นใจในการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ และให้ทุกฝ่ายช่วยกันติดตามสอดส่องพฤติกรรมดังกล่าว หากพบว่ามีเบาะแสที่สามารถพิสูจน์ได้ สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน โทร. 1569 ค่ะ” นอกจากนี รมช.ชุติมา ยังระบุอีกว่า

“...ได้มีโอกาสมาที่ชุมพร เพื่อติดตามสถานการณ์ปาล์มน้ำมัน ต่อจากที่ไปสุราษฎร์ธานีมา เพราะว่าแหล่งผลิตปาล์มน้ำมันใหญ่ๆ ของประเทศประมาณ 70% อยู่ใน 3 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี ชุมพร และกระบี่จากการลงพื้นที่ พบว่า ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันออกมากกว่าปกติ ดังนั้น มาตรการที่รัฐบาลพยายามดึงผลผลิตส่วนเกินในสต๊อกน้ำมันออกไป ก็ยังไม่สามารถดึงราคาได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ ก็จะต้องหามาตรการเพิ่มเติมมาช่วยเหลือในเรื่องนี ซึ่งจะต้องหารือกับกระทรวงพลังงานและกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งกระทรวงเกษตรฯ จะต้องเข้ามาคาดการณ์ผลผลิตในช่วงจากนี้ต่อไปอีก เพราะว่ารายงานในพื้นที่แจ้งคอลัมน์กวนน้ำให้ใส - อย่าทิ้งชาวสวนปาล์มว่า มีปริมาณผลปาล์มออกเร็วขึ้นในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แต่คุณภาพไม่เป็นเช่นที่เห็น คือ ทะลายปาล์มสุก สีผลปาล์มสุกมีปาล์มร่วง แต่ปรากฏว่าลูกที่สุกในทะลาย เนื้อในไม่สุกจริง เป็นปัญหาเนื่องมาจากดินฟ้าอากาศ ส่งผลให้ปาล์มที่ออกเร็ว คุณภาพไม่ดี ในช่วงต่อไป กระทรวงเกษตรฯ ต้องมาดูว่าปริมาณปาล์มจะลดลงหรือไม่ หากยังไม่ลด ต้องหามาตรการเสริมมาช่วยอย่างเร่งด่วน

ความรู้ที่ได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ เกษตรกรมีการตื่นตัวและช่วยเหลือตัวเองมาก ด้วยการทำศูนย์แบ่งปันน้ำมัน B100 เพื่อใช้กันในกลุ่มสมาชิกซึ่งเป็นการช่วยให้การนำผลปาล์มไปทำน้ำมัน B100 เพิ่มขึ้นและมีการใช้น้ามัน B100 เพิ่มขึ้นในเครื่องจักรกลการเกษตร และรถยนต์ซึ่งกลุ่มเกษตรกรทดลองใช้ในกลุ่มของตน ทางนี้ก็จะเป็นทางออกอีกทางหนึ่งที่ช่วยดูดซับการใช้ ด้วยการนำเอา B100 มาแบ่งปันกันในกลุ่มซึ่งเป็นไปตามกฎหมายที่อนุญาตให้ทำได้ เพราะไม่ใช่เป็นการจำหน่าย

...การที่รัฐบาลด้าเนินมาตรการปรับสมดุลปาล์ม โดยเอาไปทำไฟฟ้า เราทราบดีว่ามีปัญหาในบางพื้นที่ที่เกษตรกรรายย่อยเข้าไม่ถึง และในบางพื้นที่ เช่น ที่สุราษฎร์ธานี ในช่วงต้น ก็ไปกำหนดมาตรการ 300 กิโลกรัม/ไร่/เดือน ยิ่งท้าให้เกิดปัญหา ซึ่งมาตรการนี ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว อย่างไรก็ตาม โควตาน้ามันปาล์มที่โรงงานสกัดแต่ละโรงเข้าร่วมโครงการก็ไม่ได้มีปริมาณมากพอที่จะรองรับผลผลิตจากเกษตรกรทุกรายได้ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่เข้าไม่ถึง รัฐบาลจึงได้มีมาตรการเสริมมาช่วยเหลือรายย่อย ด้วยการให้เงินช่วยเหลือชาวสวนปาล์ม 1,500 บาทต่อไร่ ไม่เกินครัวเรือนละ 15 ไร่โดยจ่ายเข้าตรงบัญชีของเกษตรกรเลย เพื่อให้อย่างน้อย เกษตรกรมีรายได้จ้านวนหนึ่งเพื่อจะใช้ในการครองชีพในช่วงที่ผลผลิตราคาตกต่้าอย่างมาก รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ และพยายามที่จะหามาตรการที่จะมาช่วยเหลือ ที่จะมาแก้ปัญหาระยะยาวที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

…พยายามช่วยแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ ขอยืนยันว่า ไม่มีการทุจริตภายใต้โครงการของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการที่กระทรวงพาณิชย์ติดตามดูแลอย่างแน่นอน รวมทั ง ต้องเชิญชวนประชาชนผู้ใช้รถ ถ้าเป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่และรถกระบะ ตอนนี้ก็ชัดเจนแล้วว่าสามารถเติม B20 ได้ สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่ประกาศของกรมธุรกิจพลังงานหน้าเว็บไซต์กรมการค้าภายใน www.dit.go.th

ถ้าเราช่วยกันใช้ B20 ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรได้ส่วนหนึ่ง และยังจะช่วยแก้ไขปัญหามลภาวะด้วยเพราะน้ามัน B20 จะช่วยลดฝุ่น PM2.5 แต่ต้องมั่นใจว่า น้ำมันที่กลุ่มผลิตได้มีมาตรฐานเทียบเท่ามาตรฐานของโรงงานที่ได้รับอนุญาตผลิตหรือ อาจจะซื้อน้ามัน B100 จากโรงงานที่ได้รับอนุญาตมาแบ่งปันกันในกลุ่ม และขอย้ำนะคะ เป็นศูนย์แบ่งปัน B100 ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ไม่ใช่การจำหน่ายนะคะ…”

2. นอกจากนี้ รมช. หญิงท่านนี้ ยังอุตส่าห์ตอบค้าถามของผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นสะท้อนความเดือดร้อนเพิ่มเติมด้วยตนเองอีก ในเฟซบุ๊ค ชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เช่น

“ขอบคุณสำหรับทุกความเห็น หลายอย่างที่สะท้อนมา ท้าให้ทราบว่าเรายังต้องปรับความเข้าใจกันอีกมาก เช่น รัฐบาลช่วยเหลือไร่ละ 1,500 บาท แต่ราคาปาล์มก็ยังไม่ขึ้น ขอชี้แจงว่ามาตรการนี วัตถุประสงค์ของการช่วยเหลือเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยมีรายได้บรรเทาภาวะการครองชีพ ในสถานการณ์ที่ราคาตกต่ำ เราทราบดีว่ามาตรการนี้ไม่สามารถช่วยดึงราคาปาล์มให้สูงขึ้นได้ค่ะ ในฐานะที่เป็นคนหนึ่งในรัฐบาลที่ต้องดูแลเรื่องราคาสินค้าเกษตร ขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจและพยายามหาวิธีแก้ไข ขอบคุณผู้ที่เสนอแนะความเห็นเชิงสร้างสรรค์ทุกท่านนะคะ”

“ขอให้มั่นใจว่า ตั้งใจช่วยแก้ปัญหาสำหรับพณ. ภายใต้การกำกับดูแลของดิฉัน ไม่มีเรื่องคิดจะโกงกิน ใครมีหลักฐาน วานบอก จะจัดการขั้นเด็ดขาดค่ะ”

“รับทราบ ปัญหาที่สะท้อนมา ได้แก้ไขแล้ว เป็นการดำเนินการในพื้นที่ มีจังหวัดเดียวที่กำหนด 300 กก./ไร่/คน/เดือน รัฐบาลรับทราบว่า รายย่อยเข้าไม่ถึง กระทรวงเกษตรฯ จึงมีมาตรการเงินช่วยเหลือชาวสวนปาล์ม 1,500 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ ออกมาเสริมค่ะ” ฯลฯ

3. ทั้งหมด สะท้อนให้เห็นความตั้งใจ ความจริงใจของรัฐมนตรีที่เข้ามารับผิดชอบดูแลแก้ไขปัญหา “เผือกร้อน” ว่าด้วยราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำในยุคนี จึงอยากจะให้กำลังใจ และขอเพิ่มความกดดัน เพื่อให้ท่านเร่งแก้ปัญหาให้กับชาวบ้านอย่างเต็มที่ ท้าให้สุดกำลัง ทุกข์ของชาวสวนปาล์มในยามนี้หนักหนาสาหัสมากท่านรัฐมนตรี และรัฐบาล คสช. มีเวลาเหลืออยู่จำกัด ไม่รู้ว่านานหรือสั้นแค่ไหน ควรใช้เวลาที่มีอยู่นี้แสดงออกให้เห็นถึงความมุ่งมั่น จริงจัง จริงใจ ที่จะทำทุกอย่างในการผลักดันการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้อย่างแท้จริง หากรัฐบาลทำให้เห็นได้ว่าได้ท้าเต็มที่ไม่มีวาระแอบแฝง ทำสุดเรี่ยวแรง สุดกำลัง ทำทุกวิถีทาง พิจารณาทุกทางเลือกข้อเสนอของผู้เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุด้วยผลอย่างไร ก็ควรสื่อสารให้เข้าใจกับชาวสวนปาล์มในลักษณะที่ทำให้รู้สึกได้ว่าร่วมทุกข์ไปกับชาวบ้าน เชื่อว่า สถานการณ์ของปัญหาจะดีขึ้นกว่าที่ผ่านมาอย่างแน่นอน

โดย...สารส้ม (ข่าวจากหนังสือพิมพ์ แนวหน้า)