05 กรกฎาคม 2562
ข้าราชการที่อยู่กระทรวงดังกล่าวคงเตรียมตัวรับการมาของเจ้ากระทรวงกันอย่างหวาดหวั่น
ข่าวบนหน้าสื่อในช่วงนี้ ไม่ว่าหน้า 1 หรือหน้าใน ไม่ใคร่จะมีข่าวดีสักเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นข่าวจับขบวนการขนยาเสพติดที่เกี่ยวพันกับพรรคการเมือง ข่าวการทำร้ายร่างกายของนักเคลื่อนไหวด้านการเมือง รวมทั้งข่าวแย่งเก้าอี้รัฐมนตรีที่ว่ามานั้น ล้วนเป็นการสร้างกระแสกลบข่าวอื่นๆ ได้อย่างเนียนๆ มีข่าวการดูแลอนุรักษ์พะยูน หรือข่าวการจับลูกปลาทูมาขาย โผล่มาบ้างแล้วก็หายไป ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องของส่วนรวมแต่คนกลับสนใจน้อย เช่นเดียวกับข่าวการระบาดของศัตรูพืช 2 ตัวที่สำคัญ ซึ่งมาพร้อมในเวลาเดียวกัน ตัวแรกคือ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด หรือมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Fall Armyworm เป็นแมลงศัตรูที่เพิ่งเข้ามาสู่ประเทศไทย เป็นแมลงศัตรูพืชที่ร้ายแรง หากควบคุมการระบาดไม่อยู่ เกิดระบาดรุนแรง หนอนจะเคลื่อนไหวดาหน้าเป็นกองทัพบุกทาลายพืชเลยทีเดียว ชีวประวัติของหนอนชนิดนี้ทาลายผลิตผลเกษตรไปครึ่งโลกแล้ว มาสู่ประเทศไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว มาได้อย่างไรไม่ยืนยัน รู้แต่ว่าผ่านมาทางอินเดียและพม่าและแมลงชนิดนี้สามารถบินได้ไกลเฉลี่ยคืนละ 100 กิโลเมตร ที่เฉลี่ยเป็นคืน เพราะแมลงชนิดนี้เป็นผีเสื้อกลางคืนแต่ตัวที่ทำลายพืชผลเป็นระยะตัวหนอน ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วมีวงจรชีวิตจากไข่ถึงตัวเต็มวัยเพียง 1 เดือนเท่านั้น ที่สำคัญคือพืชอาหารของหนอนชนิดนี้มีมากกว่า 80 ชนิด ซึ่งรวมถึง ข้าวโพด อ้อย ข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของบ้านเราด้วย
ระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 6 เดือน การป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ยังฉุดไม่อยู่ ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาไม่กี่วันนี้ ตัวเลขการระบาดมากกว่า 4 แสนไร่ ใน 41 จังหวัด ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวโพดที่สำคัญ นักวิชาการบอกว่าฤดูฝนนี้มีแนวโน้มจะระบาดมากขึ้นถ้าเกษตรกรยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง
วิธีการป้องกันกาจัดหนอนชนิดนี้ตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ คือ หากพบหนอนขนาดเล็กให้เก็บหนอนทำลายทิ้ง และใช้ชีวภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อ BT สายพันธุ์ไอซาไว หรือ สายพันธุ์เคอร์สตากี้ ชนิดผง อัตรา 40-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 4-7 วัน เมื่อพบการระบาด หากพบไข่ให้ทำลายโดยเก็บกลุ่มไข่ทำลายทิ้งและใช้แมลงหางหนีบ ส่วนตัวเต็มวัยให้ทำลายโดยใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองจานวน 80 กับดัก/ไร่ สาหรับหนอนขนาดใหญ่ให้ทำลายโดยใช้แมลงตัวห้า ได้แก่ แมลงหางหนีบหรือมวนพิฆาต และในกรณีที่ใช้เคมีให้ใช้สารเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร แค่สายพันธุ์เชื้อ BT ที่เฉพาะเจาะจงขนาดนั้น เกษตรกรจะหาได้หรือไม่ แมลงหางหนีบ ตัวห้า มวนพิฆาต ซึ่งเป็นศัตรูธรรมชาติ จะมีมากมายเท่ากับจานวนหนอนหรือไม่ก็ไม่ทราบ ต้องเสียเวลาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์นานเสียกว่าวงจรชีวิตของหนอนอีกเสียละกระมังท้ายสุดก็ต้องพึ่งพาสารเคมี
คอลัมน์เลาะรั้วเกษตร : รอคอยคนมาดูแล
ศัตรูพืชอีกตัวหนึ่ง คือ โรคใบด่างมันสาปะหลัง เมื่อปี 2558 มีรายงานการระบาดของโรคใบด่าง มันสำปะหลังในพื้นที่ปลูกมันสาปะหลังในจังหวัดรัตนคีรี ประเทศกัมพูชา ได้มีการนำไปวิเคราะห์พบว่าเกิดโรคเชื้อไวรัสชนิด ศรีลังกา คาสซาวา โมเซอิค ไวรัส (SLCMV) ในปี 2560 มีการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังชนิดนี้ทางภาคใต้ของประเทศเวียดนาม และในปี 2561/62 การระบาดเพิ่มมากขึ้นจนถึงโฮจิมินห์
ในเดือนสิงหาคม 2561 มีการตรวจพบต้นมันสำปะหลังของเกษตรกร ที่ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ และที่อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ มีลักษณะอาการคล้ายโรคใบด่างมันสำปะหลัง กรมวิชาการเกษตรจึงเข้าไปขอให้เกษตรกรทำลายทิ้งเพราะถ้าโรคนี้แพร่กระจายออกไปจะทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังได้รับความเสียหายอย่างมาก จากนั้นได้มีการเฝ้าระวังการแพร่กระจายของโรคมาอย่างต่อเนื่องแต่ก็เอาไม่อยู่อีกเช่นกัน เพราะล่าสุดพบโรคใบด่างมันสำปะหลังที่จังหวัดอื่นๆ อีกหลายจังหวัด ในภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ สาเหตุเพราะเกษตรกรใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคมาปลูก นอกจากนี้สภาพอากาศฝนทิ้งช่วงยังเอื้ออำนวยให้มีการระบาดของแมลงหวี่ขาวซึ่งเป็นพาหะของโรคใบด่างมันสำปะหลังนี้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการป้องกันโรคใบด่างที่ดีที่สุด คือใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่ไม่เป็นโรคมาปลูก รวมทั้งใช้ศัตรูธรรมชาติและชีวภัณฑ์กำจัดแมลงหวี่ขาวซึ่งเป็นตัวพาหะของโรค ไม่เพียงศัตรูพืช 2 ตัวนี้ ที่สร้างปัญหาให้กับเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการช่วยเหลือเกษตรกร ยังมีเรื่องของสารเคมีเรื่องของอาหารปลอดภัย เรื่องของ IUU เรื่องของโครงการถนนพาราซอยซีเมนต์ที่แว่วๆ ว่าไม่ชอบมาพากลเรื่องของทรัพยากรสัตว์น้ำ เรื่องของราคาผลผลิตตกต่าสินค้าเกษตรที่ไม่ได้คุณภาพ และปัญหาอื่นๆ
อีกไม่น้อย ที่รอการแก้ไข ใครที่จะมาดูแลกระทรวงเกษตรฯ คงต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ และต้องทำใจมาด้วยว่า เกษตรนี้มิใช่กล้วยๆ และมิใช่ หมูๆ
เรื่องโดย...แว่นขยาย (ข่าวจากหนังสือพิมพ์ แนวหน้า)