05 กรกฎาคม 2562
“ตอนนี้เราได้รับรายงานว่า มีการระบาดในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ แต่สถิติความเสียหายยังไม่สามารถรวบรวมได้ เพราะอยู่ระหว่างการสารวจพื้นที่โดยให้จังหวัดรายงานเข้ามา แต่เบื้องต้นยังไม่ทำความเสียหายมากนัก ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการให้สำนักงานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัดเร่งสารวจติดตามสถานการณ์การระบาดของหนอนกระทู้กล้าและศัตรูข้าวชนิดอื่นๆอย่างต่อเนื่องแล้ว โดยรายงานสถานการณ์ให้ทราบทุกสัปดาห์ และขอเตือนชาวนาให้ระมัดระวังให้ดี ในระยะนี้หลังจากลงต้นกล้าไปแล้ว เกษตรกรควรสำรวจแปลงนาอย่างสม่่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเพื่อเฝ้าระวังการเข้าทำลายของหนอนกระทู้กล้า”
นายสาราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร บอกถึงลักษณะการเข้าทาลายต้นกล้าของหนอนชนิดนี้ว่า เป็นหนอนเกิดจากผีเสื้อกลางคืนตัวเต็มวัย มีปีกคู่หน้าสีเทาปนน้าตาล ปีกคู่หลังสีขาว บินเก่ง สามารถอพยพ
ได้ไกลเป็นระยะทางหลายสิบถึงหลายร้อยกิโลเมตร บินมาวางไข่เป็นกลุ่มบริเวณยอดอ่อนของข้าว เมื่อตัวหนอนฟักออกจากไข่จะมีลาตัวสีเทาถึงเขียวแกมดา ด้านหลังมีลายตามความยาวของลาตัวจากหัวจดท้าย แต่ละปล้องมีจุดสีดา ตัวหนอนฟักจากไข่ช่วงเช้าตรู่ และรวมกลุ่มกันกัดกินส่วนปลายใบข้าว กลางวันจะหลบอยู่ในดินใต้เศษใบพืชในพื้นที่นาที่แห้ง บางส่วนอยู่บนต้นข้าวส่วนที่อยู่เหนือน้าในนาที่ลุ่ม ชอบเข้าดักแด้ในดิน หรือบนต้นหญ้าตามขอบแปลง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการ
ระบาด อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรแนะให้เกษตรกรหมั่นสารวจแปลงนาอย่างสม่าเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง พร้อมกาจัดวัชพืชตามคันนา หรือบริเวณใกล้เคียงเพื่อทาลายแหล่งอาศัยของหนอนกระทู้กล้า
หากเริ่มพบการระบาดให้ระบายน้าเข้าแปลงนาในระยะกล้าจนท่วมยอดของต้นกล้า แล้วเก็บตัว หนอนที่หนีน้าไปทาลาย...นาต้นหญ้าหรือฟางข้าวมากองไว้บนคันนา ล่อให้ตัวหนอนเข้าไปอาศัยในเวลากลางวัน จากนั้นเวลาบ่ายให้เก็บเอาตัวหนอนไปทาลาย หรือใช้เหยื่อพิษที่มีส่วนผสมของสารหนูเขียว 0.5 ลิตร ราข้าว 100 ลิตร น้าตาลทรายแดง หรือน้าตาลปี๊บ 20 ลิตร และน้าผสมกันพอชื้นๆ หว่านลงบนคันนา เมื่อหนอนกินเข้าไปแล้วเกิดเป็นพิษตาย ส่วนการใช้สารเคมีกาจัดแมลง เช่น มาลา-ไทออน อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้า 20 ลิตร หรือ เฟนิโตรไทออนอัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้า 20 ลิตร พ่นเมื่อพบใบข้าวถูกทาลายมากกว่า 15 เปอร์เซ็นต์
โดย...ชาติชาย ศิริพัฒน์ (ข่าวจากหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ)