15 กรกฎาคม 2562
เป็นอีกเรื่องที่ชาวนาไทยและคนไทยผู้เห่อตามกระแสมักเข้าใจผิด
จากการรวบรวมงานวิจัยต่างๆทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2539 จนถึงการทดลองในแปลงจริงในช่วงปี 2560-2561 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อานาจ สุวรรณฤทธิ์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตรฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ข้อสรุปว่า
ปุ๋ยไนโตรเจน(N) ไม่ว่าจะจากปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี เป็นปัจจัยสาคัญที่ทำให้ข้าวหอมและนุ่มลดลง...ยิ่งใส่มากเท่าไรยิ่งลดลงเท่านั้น
ตรงกันข้ามกับฟอสฟอรัส(P) และโปแตสเซียม(K) ยิ่งใส่มากเท่าใดจะเพิ่มความหอมและความนุ่มให้กับข้าวมากเท่านั้น
ฉะนั้น การใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์ที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีไนโตรเจนมาก เพราะได้มาจากซากใบพืชเป็นหลัก...มีฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมต่ำ (ยกเว้นปุ๋ยมูลค้างคาว) จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ทำไมการใส่ปุ๋ยอินทรีย์มาก จะส่งผลให้ข้าวหอม นุ่มลดลง
ฉะนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุด ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กับปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะในช่วงข้าวตั้งท้อง ให้เพิ่มปุ๋ยเคมีตัวที่มีฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมมากๆ เพื่อเพิ่มความหอม นุ่มให้ข้าว
เข้าใจผิด คิดแก้ไขใหม่ได้...แต่ถ้าเข้าใจแบบจมปลัก ก็แล้วแต่ท่านจะเลือกเดิน
ข่าวจาก...ไทยรัฐฉบับพิมพ์